วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาวะตาแห้ง

ภาวะตาแห้ง
ภาวะตาแห้ง
ดวงตาของคนที่สุขภาพดี จะมีน้ำตาเคลือบเป็นฟิล์ม ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอจึงรู้สึกสบายตาแต่อาจเกิดภาวะตาแห้งได้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. สภาวะแวดล้อมแห้งมากหรือมีลมพัดเข้าตา
  2. ทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือ อ่านหนังสือนานๆ จะกระพริบตาน้อยลงทำให้น้ำตาที่เคลือบเป็นฟิล์มลดลง
  3. ผู้ที่ใช้คอนแท็คเลนส์นานๆ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาเพราะตาแห้งได้
  4. ผู้สูงอายุมักจะประสบปัญหานี้ค่อนข้างมากเนื่องจากมีการผลิตน้ำตาน้อยลง
  5. การกินยาบางชนิดทำให้ผลิตน้ำตาลดลง
หากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาน้อยลง จะทำให้น้ำตาไม่สามารถจับตัวเป็นฟิล์มเคลือบตาได้สม่ำเสมอตามปกติหรือหากฟิล์มน้ำตาขาดช่วงจะทำให้เกิดเป็นจุดแห้งของตาทำให้มีการระคายเคืองตา และการมองเห็นเลวลง

ภาวะตาแห้งมีอาการต่างๆ ดังนี้
  1. แสบตา เคืองตา คันตา
  2. รู้สึกคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา
  3. มีอาการตาพร่าเป็นพักๆ
  4. ระคายเคืองตามาก เมื่อถูกลม หรือควันต่างๆ
  5. รู้สึกตาล้า หลังใช้คอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือได้ไม่นาน
  6. สวมคอนแท็คเลนส์ตาลำบาก มักมีโรคติดเชื้อที่หนังตาบ่อย
  7. อาจมีน้ำตาไหลมาก เนื่องจากมีจุดแห้งบนกระจกตาจึงมี รีเฟล็กซ์ไปกระตุ้นต่อมน้ำตาให้ผลิตและหลั่งน้ำตาออกมา
หลักการรักษา

ภาวะตาแห้งขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ หลักการรักษาจึงเป็นการทำให้ดวงตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ ซึ่งทำได้โดย
  1. การให้น้ำตาเทียมโดยเลือกชนิดให้เหมาะสมกับความรุนแรง
  2. การปิดช่องทางไหลของน้ำตา
ผู้ที่มีอาการตาแห้งไม่รุนแรงมักจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการหยอดน้ำตาเทียม แต่น้ำตาเทียมชนิดยาน้ำใสจะมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่นานนักจึงจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆในผู้ป่วยบางราย จนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลเสีย หรือแพ้สารกันเสียที่ใส่ในน้ำตาเทียมได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความไวเกินต่อสารกันเสียบางชนิด ดังนั้นจึงมีการทำน้ำตาเทียมบางชนิดที่ไม่มีสารกันเสียหรือชนิดที่สารกันเสียหรือชนิดที่สารกันเสียสลายตัวได้ และน้ำตาเทียมที่มีความหนืดเหมาะสมช่วยให้น้ำระเหยช้าลงทำให้ดวงตาชุ่มชื้นได้นานขึ้น

การเลือกน้ำตาเทียม
น้ำตาเทียมมีให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบ มีทั้งยาน้ำใส น้ำขุ่น ขี้ผึ้ง เจล ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆกัน ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำตาเทียม ได้แก่ สารเพิ่มความหนืด สารปรับความเป็น กรด ด่าง สารไฮโดรเจลที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ และเก็บความชุ่มชื้นไว้ในตัวได้
การเลือกชนิด และรูปแบบของน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการตาแห้งเป็นอันดับแรก กรณีที่ตาแห้งไม่มากใช้น้ำตาเทียมชนิดน้ำตาใสแบบบรรจุขวดใช้ได้หลายครั้ง ชนิดใดก็ได้ที่หยอดแล้วสบายตา แต่หากมีอาการตาแห้งมาก จำเป็นต้องหยอดตาบ่อยๆ ควรเลือกใช้น้ำยาใสชนิดไม่มีสารกันเสียเพราะการหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ อาจทำให้แพ้หรือเกิดผลเสียจากสารกันเสียได้ทำให้ระคายเคืองตามากขึ้น คล้ายอาการตาแห้งรุนแรง

หากใช้ยาหยอดตาเพื่อรักษาโรคอื่นอยู่แล้ว เช่น ยาหยอดตารักษาต้อหิน ควรเลือกใช้น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย


Lid clean pad