วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์

เป็นยาหยอดตาที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะออกฤทธิ์ลดการอักเสบที่ตา มีทั้งชนิดที่มีเพียงคอร์ติโคสเตียรอยด์ตัวเดียว และชนิดที่มีตัวยาสำคัญ อื่นๆร่วมด้วย

ข้อบ่งใช้

ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์ นั้นมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบจากการแพ้ โดยการให้ยาทางเยื่อตาขาวนั้น สามารถต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นที่หนังตา ลูกตา เยื่อตาขาว กระจกตา เปลือกตา ม่านตา ยาสามารถต้านการอักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น ความร้อน รังสี สารเคมี ป้องกันการอักเสบภายหลังการผ่าตัด ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น

ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่ใช่ยาที่ใช้ในการรักษาโรคให้หายขาด แต่เป็นเพียงการลดการอักเสบ ดังนั้นจำเป็นต้องหยุดยาทันทีที่อาการอักเสบหาย หรือตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง โดยทั่วไปยาจะไม่ถูกดูดซึมทั่วร่างกาย จึงไม่พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงของยาต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย แต่หากมีการใช้เฉพาะที่เป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจส่งผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้

อาการไม่พึงประสงค์

  • ความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้น โดยขึ้นอยู่กับชนิดของยา ความเข้มข้น ระยะเวลาการใช้ยา
  • อาการแสบ ระคายเคืองตา
  • ผลต่อระบบในร่างกาย อื่นๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตลดลง ความผิดปกติของการรับรส เยื่อบุจมูกอักเสบ คออักเสบ 

รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย


FML (Fluorometholone)
















FLAREX (Fluorometholone)
















INF OPH (Prednisolone)
















CD OPH (Chloramphenicol + Dexamethasone)
















DEX OPH  (Dexamethasone + Neomycin)
















TOBRADEX ED  (Tobramycin + Dexamethasone)



TOBRADEX EO (Tobramycin + Dexamethasone)







ALREX (Loteprednol 0.2%)


EXOPRED (Prednisolone + Ofloxacin)



LOTEMAX (Loteprednol 0.5%)

VIGADEXA (Moxifloxacin + Dexamethasone)



ZYLET (Loteprednol + Tobramycin)


วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

น้ำตาเทียม แนทเทียร์

น้ำตาเทียม แนทเทียร์


แนทเทียร์ ใช้เป็นน้ำตาเทียมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา
ส่วนประกอบ  ไฮดรอกซี่โพรพริล เมทิลเซลลูโลส 0.3 %
ราคา 71 บาท (มิ.ย.2557) เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ข้อบ่งใช้   

  • ใช้สำหรับบรรเทาอาการระคายเคืองของตาซึ่งเกิดจากลม แสงแดด หรือสารระคายเคืองอื่นๆ
  • ใช้ป้องกันการระคายเคืองของตา หรือบรรเทาอาการตาแห้ง
  • ใช้บรรเทาอาการระคายเคืองของตา ในผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ และผู้ที่จ้องมองจอคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ
ขนาดและวิธีใช้

  • หยอดตาครั้งละ 1-2 หยด วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกเคืองตา (ขณะหยอดตา ระวังอย่าให้ปลายขวดถูกกับตา)
  • หยอดยา  2-3 หยดบนคอนแทคเลนส์ก่อนใส่เลนส์เข้าตาเพื่อลดอาการระคายเคืองจากคอนแทคเลนส์
ข้อห้ามใช้    ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้

ข้อควรระวัง

  • ควรทิ้งน้ำยาที่เหลือไป หลังจากเปิดขวดใช้แล้ว 1 เดือน ห้ามใช้หลังวันหมดอายุ
  • หลังการใช้ยา ควรปิดขวดให้สนิท และเก็บขวดยาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
  • อย่าให้ปลายขวดถูกต้องกับสิ่งอื่น ซึ่งรวมถึงตาด้วย เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของยา
  • ก่อนใช้ยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางตา
คำเตือน

  • เก็บยาให้ห่างจากเด็ก
  • กรณีที่ใส่คอนแทคเลนส์ หากมีความรู้สึกไม่สบายตา หรือระคายเคืองตาเป็นเวลานานให้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หยุดใช้ยา และปรึกษาแพทย์


อาการไม่พึงประสงค์

  • หลังหยอดยาอาจมีอาการแสบตา แพ้ หรือตาแดง หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์


การเก็บรักษา เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส

วิธีเปิดใช้ 
แนทเทียร์ผลิตด้วยเทคโนโลยี การขึ้นรูปขวด บรรจุน้ำยา และปิดผนึกขวดในขั้นตอนเดียว ทำให้ขวดบรรจุยาปิดสนิท ไม่มีช่องเปิด เพื่อความมั่นใจในความสะอาด และปราศจากเชื้อ การเปิดใช้ครั้งแรกควรปฏิบัติดังนี้



วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม

โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม (Macula disease)

ตาของเรามีส่วนรับภาพที่เรียกว่า จอประสาทตา หรือ จอตา ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณแสงเพื่อส่งผ่านไปแปลง เป็นภาพที่สมอง บริเวณจอตานี้มีจุดรับภาพที่ควบคุมความชัดของจุดกลางภาพ เรียกว่า  จุดภาพชัดของจอตา  (Macula)


หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับจุดภาพชัดจอตา จะส่งผลให้การมองภาพส่วนกลางไม่ชัด คล้ายกับมีจุดดำบังตรงกลาง หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวไป




โรคที่เกี่ยวกับจุดภาพชัดบนจอตาเสื่อม
1.      โรคจุดภาพชัดบนจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกผิดปกติ (AMD) มีสาเหตุจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยในตาที่งอกขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเปราะบางและเกิดการรั่วซึมได้ ทำให้จุดภาพชัดบวม มองเห็นภาพบิดเบี้ยว และสูญเสียการมองเห็นในส่วนกลางในที่สุด
2.      โรคจุดภาพชัดบวมน้ำจากโรคเบาหวาน (DME)

การรักษา
1.      การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
2.      การฉีดยาเข้าวุ้นลูกตา




การฉีดยาเข้าวุ้นตา ยาที่ใช้ฉีดนี้มีคุณสมบัติยังยั้งการสร้างสารที่กระตุ้นให้เกิดเส้นเลือดที่งอกผิดปกติ 
ยาที่ใช้ฉีดเข้าวุ้นตาที่มีในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) ได้แก่ 
  • bevacizumab (Avastin®) ราคา 500 บาทต่อเข็ม
  • ranibizumab (Lucentis®) ราคา 50,092 บาท (28 เม.ย. 57) 
ยาทั้งสองชนิดผลิตจากบริษัทเดียวกัน มีลักษณะการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่การขึ้นทะเบียนด้วยข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน และมีราคาแตกต่างกัน
คณะกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักได้พิจารณา bevacizumab (Avastin®) ขึ้นทะเบียนในบัญชียาหลักแห่งชาติ     บัญชี จ(2) หรือบัญชีรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น

สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) สามารถรักษาได้ตามสิทธิ์การรักษา โดยหากแพทย์ระบุข้อบ่งชี้ตามที่คณะกรรมการบัญชียาหลักกำหนด ก็สามารถเบิกได้

อ้างอิง จุลสารโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 17 กรกฏาคม-กันยายน 2555

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ยาหยอดขยายม่านตาคืออะไร

ยาหยอดขยายม่านตาคืออะไร


ยาหยอดขยายม่านตาคืออะไร คือยาหยอดที่มีตัวยาที่ไปทำให้รูม่านตาขยาย แบ่งเป็น 2 ชนิด
·       ยาออกฤทธิ์กระตุ้นซิมพาเทติก ยาทำให้กล้ามเนื้อขยายรูม่านตาทำงาน รูม่านตาจึงขยายออก ใช้สำหรับขยายรูม่านตาเพื่อตรวจจอประสาทตา หรือเตรียมการผ่าตัดภายในลูกตา ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีช่องหน้าลูกตาแคบ เพราะอาจทำให้เกิดต้อหินเฉียบพลันได้
ผลข้างเคียง มีฤทธิ์หดหลอดเลือดทำให้ความดันเลือดสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไม่ควรใช้ในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยโรคหัวใจ ยาที่ใช้บ่อยคือ Phenylephrine ในผู้ใหญ่ใช้ยาขนาด 10% สำหรับเด็กใช้ขนาด 2.5% เริ่มออกฤทธิ์หลังหยอดยา 30 นาที มีฤทธิ์อยู่นาน 2-3 ชั่วโมง มักใช้ร่วมกับยาขยายม่านตาอีกกลุ่ม เพื่อเสริมฤทธิ์ในการขยายรูม่านตา

·       ยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์ยังยั้งพาราซิมพาเทติก ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหดรูม่านตา รูม่านตาจึงขยายออก มีประโยชน์ในการตรวจจอประสาทตา และเตรียมผ่าตัดภายในลูกตา นอกจากนี้ยายังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อซิลเลียลีคลายตัว ผลคือเลนส์ตาไม่สามารถปรับสภาพได้ จึงใช้เมื่อจะวัดแว่นตาในเด็กเล็ก และใช้เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อซิลเลียลีในการรักษาการอักเสบของยูเวีย ยากลุ่มนี้มักใช้หยอดเป็นระยะๆจนได้ฤทธิ์ตามที่ต้องการและมักทำให้แสบตา โดยอาจหยอดยาชานำก่อนเพื่อลดการระคายเคืองตา และจะช่วยให้ยาดูดซึมเข้าตาได้ง่ายขึ้น
ผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือ อาจทำให้เกิดต้อหินมุมปิดชนิดเฉียบพลัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีมุมช่องหน้าลูกตาแคบ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่
1.      Atropine Sulfate ชนิด 0.5% , 1% ยาเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีและมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้ในการรักษายูเวียอักเสบ ต้องหยอดตาวันละ 2-3 ครั้ง จึงจะได้ผลตามต้องการ นิยมใช้เพื่อวัดแว่นตาในเด็กเล็ก เพราะมีผลยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อซิลเลียลีได้มากที่สุด โดยให้หยอดตาขนาด 0.5%  วันละ 2-3 ครั้ง ก่อนวัดแว่นตา 3 วัน และให้อีกครั้งในตอนเช้าของวันที่จะวัด  

ผลข้างเคียงของยาโดยเฉพาะในเด็ก คือ ทำให้คอแห้ง ผิวหนังแห้ง  ตัวแดง มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ควรแนะนำให้ผู้ปกครองกดหัวตาของเด็กเวลาใช้ยา เพื่อลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย


2.      Cyclopentolate HCl 1% (Cyclogyl) เริ่มออกฤทธิ์ 30 นาทีหลังหยอดตา และคงฤทธิ์อยู่ประมาณ 24 ชั่วโมง อาจมีผลข้างเคียงถ้าใช้กับผู้ป่วยเด็ก คือทำให้มีอาการสับสน เห็นภาพหลอน เดินเซ พูดไม่ชัด


3.      Tropicamide 1% (Mydriacyl) เริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาทีหลังหยอดตา และหมดฤทธิ์ภายใน 5-6 ชั่วโมง เหมาะสำหรับขยายรูม่านตาเพื่อการตรวจจอประสาทตา เพราะหมดฤทธิ์เร็วกว่ายาชนิดอื่นๆ นิยมใช้ร่วมกับ Phenylephrine ในการขยายรูม่านตาเพื่อเตรียมก่อนการผ่าตัดต้อกระจก

Lid clean pad