วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยาหยอดตาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม


ยาหยอดตาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม

ในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) (Fall-risk-increasing drugs : FRIDs)

ยาหยอดตากลุ่ม b-adrenoceptor blocker ที่ใช้ลดความดันลูกตา มีโอกาสทำให้เกิด Orthostatic hypotension เนื่องจากยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้

Orthostatic hypotension คือ การเปลี่ยนท่าร่างที่ฝืนแรงโน้มถ่วง เช่น จากนั่งเป็นยืน จากก้มเป็นเงย  เมื่อขยับในลักษณะ  ดังกล่าวเร็วๆ แรงดันจากหัวใจจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง บางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด ทำให้หัวใจปรับตัวโดยเต้นเร็วขึ้นและแรงขึ้น หรือในทางการแพทย์คือการลดลงของ systolic blood pressure มากกว่า 20 มม.ปรอทขึ้นไป หรือ diastolic blood pressure มากกว่า 10 มม.ปรอทขึ้นไป หลังจากให้อยู่ในท่า upright นาน 3 นาที สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นที่ พบในโรคเบาหวาน เกิดจากการขาดสารน้ำในร่างกาย ยาบางชนิด เป็นต้น

ยากลุ่ม b-adrenoceptor blocker ที่มีใช้ในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ(วัดไร่ขิง) มีดังนี้

ยาเดี่ยว ได้แก่
ยา Timolol  เช่น
·      Glauco-ophÒ eye drop ,
·      TimololÒ eye drop   
 
ยาสูตรผสม ได้แก่
b-blocker+µ- adrenergic Agonist เช่น
·      CombiganÒ  (Brimonidine+Timolol)
b-blocker+Carbonic Anhydrase inhibitor เช่น
·      CosoptÒ eye drop (Dorzolamide+Timolol)
 
b-blocker+Prostaglandin Agonist เช่น 
·      XalacomÒ eye drop(Latanoprost+Timolol)
·      DuotravÒ (Travoprost+Timolol)
 

(ส่วน betoptic (Betaxolol) eye drop เป็น selective  b-adrenoceptor blocker มีผลข้างเคียงน้อยกว่า timolol จึงไม่จัดอยู่ในรายชื่อกลุ่มเสี่ยง)

การป้องกันไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นทำได้คือ เมื่อหยอดตาแล้วต้องกดหัวตาไว้สักครู่เพื่อป้องกันไม่ให้ยาเข้าสู่ร่างกายและเรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวในแนวดิ่งแบบช้าๆไม่วูบวาบ  จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดตกหกล้มจากยาดังกล่าวได้

เอกสารอ้างอิง

Br J Clin Pharmacol. 2007 February;232-237. Published online 2006 August 30.

www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=2059

www.health.co.th/Journal2/51-51_OrthostaticHypotension.

วิธีบริหารยา Actonel

วิธีบริหารยา Actonel สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน
§       รับประทานยา 1 เม็ด พร้อมน้ำเปล่า 1 แก้วสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือเครื่องดื่มทุกชนิด อย่างน้อย 30 นาที
§       ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับอาหาร หรือเครื่องดื่ม(ที่ไม่ใช่น้ำเปล่า)
§       หลังรับประทานยาในช่วง 30 นาทีแรก ไม่ควรนอนในแนวราบ แต่ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ เช่น นั่งเดิน ออกกำลังกาย
§       เลือกวันที่ท่านสะดวกในการรับประทานยา และรับประทานวันเดิมทุกสัปดาห์
§       หากลืมรับประทานยาเมื่อนึกได้ให้รับประทานยาในวันรุ่งขึ้นตามเวลาเดิม หลังจากนั้นให้กลับมารับประทานยาครั้งต่อไปให้ตรงตามวันและเวลาที่เคยรับประทาน
§       ห้ามรับประทานยา 2 เม็ด ในวันเดียวกัน

วิธีสังเกตยาหมดอายุ


เราควรทราบวิธีสังเกตยาที่มีอยู่ว่ายังสามารถใช้ได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เพราะหากยาที่ใช้หมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษายังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งมีวิธีการสังเกตง่ายๆ ดังนี้
            วันหมดอายุ เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้หลายแบบ เช่น Exp.date, Expiring, Use by หรือ Use before ตัวอย่างเช่น Exp.date 20/02/05 หมายความว่ายาจะหมดอายุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2005  แต่หากบนฉลากไม่ได้กำหนดวันที่วันหมดอายุ ก็ให้หมายถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เช่น Exp.date 03/05 หมายความว่ายาจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2005 แต่ในบางครั้งจะระบุ ปีอยู่ด้านหน้าเดือน สังเกตได้ว่าวันที่ผลิตตัวสุดท้ายจะเป็นวันเดียวกัน ในกรณีที่ยาไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ อาจสังเกตได้จากวันที่ผลิต (Manufacturing date หรือ Mfg.date) ซึ่งโดยทั่วไป หากยานั้นผลิตมาเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมาใช้
            ทั้งนี้ยาแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน และการเก็บรักษาก็มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบ เช่น แสง ความร้อน ในบริเวณที่เก็บ ทำให้บางครั้งยาที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ แต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปแล้ว ก็ไม่ควรนำยานั้นมาใช้
การสังเกตลักษณะทางกายภาพของยา สามารถทำได้ง่ายๆ ยาที่เสื่อมคุณภาพแล้ว จะมีลักษณะดังนี้

§       ยาเม็ด มีลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสี หรือสีซีด
§       ยาเม็ดเคลือบ มีลักษณะเยิ้มเหนียว
§       ยาแคปซูล มีลักษณะบวม โป่งพอง ผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อน เปลี่ยนสี หรืออาจมีเชื้อราขึ้นบนเปลือกแคปซูล
§       ยาน้ำเชื่อม มีลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
§       ยาน้ำแขวนตะกอน มีลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็ง เขย่าแรงๆ จะไม่กระจาย
§      ยาน้ำอิมัลชัน มีลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
§      ยาครีม มีลักษณะแยกชั้น ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อครีมเปลี่ยนสี
§     ยาหยอดตา เปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือหยอดตาแล้วมีอาการแสบตามากกว่าปกติโดยทั่วไปยาหยอดตาจะมีอายุเพียง 1 เดือน นับจากวันที่เปิดใช้ครั้งแรก
§     ยาฉีด แต่ละชนิดจะเสื่อมคุณภาพไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความคงตัวของยาแต่ละชนิด

 
 
 

การเก็บรักษา Adrenaline


Lid clean pad