วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยาหยอดตาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม


ยาหยอดตาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม

ในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) (Fall-risk-increasing drugs : FRIDs)

ยาหยอดตากลุ่ม b-adrenoceptor blocker ที่ใช้ลดความดันลูกตา มีโอกาสทำให้เกิด Orthostatic hypotension เนื่องจากยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้

Orthostatic hypotension คือ การเปลี่ยนท่าร่างที่ฝืนแรงโน้มถ่วง เช่น จากนั่งเป็นยืน จากก้มเป็นเงย  เมื่อขยับในลักษณะ  ดังกล่าวเร็วๆ แรงดันจากหัวใจจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง บางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด ทำให้หัวใจปรับตัวโดยเต้นเร็วขึ้นและแรงขึ้น หรือในทางการแพทย์คือการลดลงของ systolic blood pressure มากกว่า 20 มม.ปรอทขึ้นไป หรือ diastolic blood pressure มากกว่า 10 มม.ปรอทขึ้นไป หลังจากให้อยู่ในท่า upright นาน 3 นาที สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นที่ พบในโรคเบาหวาน เกิดจากการขาดสารน้ำในร่างกาย ยาบางชนิด เป็นต้น

ยากลุ่ม b-adrenoceptor blocker ที่มีใช้ในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ(วัดไร่ขิง) มีดังนี้

ยาเดี่ยว ได้แก่
ยา Timolol  เช่น
·      Glauco-ophÒ eye drop ,
·      TimololÒ eye drop   
 
ยาสูตรผสม ได้แก่
b-blocker+µ- adrenergic Agonist เช่น
·      CombiganÒ  (Brimonidine+Timolol)
b-blocker+Carbonic Anhydrase inhibitor เช่น
·      CosoptÒ eye drop (Dorzolamide+Timolol)
 
b-blocker+Prostaglandin Agonist เช่น 
·      XalacomÒ eye drop(Latanoprost+Timolol)
·      DuotravÒ (Travoprost+Timolol)
 

(ส่วน betoptic (Betaxolol) eye drop เป็น selective  b-adrenoceptor blocker มีผลข้างเคียงน้อยกว่า timolol จึงไม่จัดอยู่ในรายชื่อกลุ่มเสี่ยง)

การป้องกันไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นทำได้คือ เมื่อหยอดตาแล้วต้องกดหัวตาไว้สักครู่เพื่อป้องกันไม่ให้ยาเข้าสู่ร่างกายและเรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวในแนวดิ่งแบบช้าๆไม่วูบวาบ  จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดตกหกล้มจากยาดังกล่าวได้

เอกสารอ้างอิง

Br J Clin Pharmacol. 2007 February;232-237. Published online 2006 August 30.

www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=2059

www.health.co.th/Journal2/51-51_OrthostaticHypotension.

วิธีบริหารยา Actonel

วิธีบริหารยา Actonel สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน
§       รับประทานยา 1 เม็ด พร้อมน้ำเปล่า 1 แก้วสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือเครื่องดื่มทุกชนิด อย่างน้อย 30 นาที
§       ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับอาหาร หรือเครื่องดื่ม(ที่ไม่ใช่น้ำเปล่า)
§       หลังรับประทานยาในช่วง 30 นาทีแรก ไม่ควรนอนในแนวราบ แต่ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ เช่น นั่งเดิน ออกกำลังกาย
§       เลือกวันที่ท่านสะดวกในการรับประทานยา และรับประทานวันเดิมทุกสัปดาห์
§       หากลืมรับประทานยาเมื่อนึกได้ให้รับประทานยาในวันรุ่งขึ้นตามเวลาเดิม หลังจากนั้นให้กลับมารับประทานยาครั้งต่อไปให้ตรงตามวันและเวลาที่เคยรับประทาน
§       ห้ามรับประทานยา 2 เม็ด ในวันเดียวกัน

วิธีสังเกตยาหมดอายุ


เราควรทราบวิธีสังเกตยาที่มีอยู่ว่ายังสามารถใช้ได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เพราะหากยาที่ใช้หมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพแล้ว นอกจากจะไม่มีผลในการรักษายังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งมีวิธีการสังเกตง่ายๆ ดังนี้
            วันหมดอายุ เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้หลายแบบ เช่น Exp.date, Expiring, Use by หรือ Use before ตัวอย่างเช่น Exp.date 20/02/05 หมายความว่ายาจะหมดอายุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2005  แต่หากบนฉลากไม่ได้กำหนดวันที่วันหมดอายุ ก็ให้หมายถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เช่น Exp.date 03/05 หมายความว่ายาจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2005 แต่ในบางครั้งจะระบุ ปีอยู่ด้านหน้าเดือน สังเกตได้ว่าวันที่ผลิตตัวสุดท้ายจะเป็นวันเดียวกัน ในกรณีที่ยาไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ อาจสังเกตได้จากวันที่ผลิต (Manufacturing date หรือ Mfg.date) ซึ่งโดยทั่วไป หากยานั้นผลิตมาเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมาใช้
            ทั้งนี้ยาแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน และการเก็บรักษาก็มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบ เช่น แสง ความร้อน ในบริเวณที่เก็บ ทำให้บางครั้งยาที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ แต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปแล้ว ก็ไม่ควรนำยานั้นมาใช้
การสังเกตลักษณะทางกายภาพของยา สามารถทำได้ง่ายๆ ยาที่เสื่อมคุณภาพแล้ว จะมีลักษณะดังนี้

§       ยาเม็ด มีลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสี หรือสีซีด
§       ยาเม็ดเคลือบ มีลักษณะเยิ้มเหนียว
§       ยาแคปซูล มีลักษณะบวม โป่งพอง ผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อน เปลี่ยนสี หรืออาจมีเชื้อราขึ้นบนเปลือกแคปซูล
§       ยาน้ำเชื่อม มีลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
§       ยาน้ำแขวนตะกอน มีลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็ง เขย่าแรงๆ จะไม่กระจาย
§      ยาน้ำอิมัลชัน มีลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
§      ยาครีม มีลักษณะแยกชั้น ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อครีมเปลี่ยนสี
§     ยาหยอดตา เปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือหยอดตาแล้วมีอาการแสบตามากกว่าปกติโดยทั่วไปยาหยอดตาจะมีอายุเพียง 1 เดือน นับจากวันที่เปิดใช้ครั้งแรก
§     ยาฉีด แต่ละชนิดจะเสื่อมคุณภาพไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความคงตัวของยาแต่ละชนิด

 
 
 

การเก็บรักษา Adrenaline


วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีการใช้ยาหยอดตาแบบกระเปาะ


ยาหยอดตาแบบกระเปาะ เป็นยาหยอดตาในรูปแบบปราศจากสารกันเสีย ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ จึงมีการผลิตยาในรูปแบบที่สามารถใช้ได้หมดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งปริมาตรของยาหยอดตาในแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน โดยในหนึ่งหลอดอาจหยอดตาได้ตั้งแต่ 2 หยด จนถึง 6 หยด

วิธีการใช้

·      ล้างมือให้สะอาด

·      หยิบแผงหลอดยาออกมาจากกล่องแล้วฉีกหลอดยาออกมาเพียงหนึ่งหลอด

·      บิดบริเวณปลายหลอดให้ขาดจากกัน อย่าเพิ่งทิ้งจุกพลาสติก

·      บีบยาออกจากหลอดยาตามวิธีที่ถูกต้อง อย่าให้ปลายหลอดสัมผัสลูกตา ขนตา ปลายนิ้ว

·      หยดยาออกมาเพียง 1 หยด ไม่ต้องบีบทีเดียวทั้งหมด

·      นำจุกพลาสติกปิดหลอดยาที่เหลือ

·      ยาส่วนที่เหลือในหลอดสามารถเก็บไว้ใช้ได้อีกภายในหนึ่งวัน โดยไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น (การเก็บยาในตู้เย็นไม่ได้ทำให้เก็บยาได้นานขึ้น) หากไม่พอสามารถเปิดหลอดใหม่ใช้ได้อีก

วิธีการใช้ยาป้ายตา


ยาป้ายตา

ข้อแนะนำวิธีการใช้

-  ล้างมือให้สะอาด

-  เปิดจุกหลอดยาไว้  โดยวางให้ฝาหลอดหงายขึ้น

-  นอน  หรือ  นั่งเงยหน้าขึ้น

-  ค่อยๆ  ใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง  และเหลือบตาขึ้นข้างบน

-  ให้ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหลอดขี้ผึ้งป้ายตา  และบีบขี้ผึ้งขนาดยาวประมาณ  1  เซนติเมตร  หรือประมาณ  1/2  นิ้ว  ลงในด้านในของเปลือกตาล่าง

            ระวัง !  อย่าให้ปลายหลอดขี้ผึ้งถูกตาหรือสิ่งใดๆ

-  ปล่อยมือจากการดึงหนังตา

-  ค่อยๆ  ปิดตาและกลอกลูกตาไปมาทุกทิศทางขณะที่ยังปิดตาอยู่สักครู่

-  ปิดฝาจุกหลอดยาให้สนิท

-  ถ้าต้องใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา  2  ชนิดขึ้นไปควรเว้นระยะห่างในการป้ายยาแต่ละชนิดประมาณ  10  นาที  ถ้ายาอีกชนิดเป็นยาหยอดตาให้หยอดยาก่อนและรอประมาณ  10  นาที  จึงใช้ขี้ผึ้งป้ายตา

ข้อแนะนำอื่นๆ

-  ห้ามใช้ยาป้ายตาร่วมกับผู้อื่น  เพราะอาจทำให้ติดโรคได้

-  อาจทำให้ตาพร่า  แสบตา  หรือเคืองตาหลังจากป้ายตาได้  ดังนั้นไม่ควรขับรถหรือต้องทำงานที่เสี่ยงต่ออันตราย  จนกว่าตาจะมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ

-  ห้ามล้างปลายหลอดขี้ผึ้งป้ายตา

-  ถ้าลืมป้ายตาให้ป้ายตาทันที่ที่นึกขึ้นได้  แต่ถ้าจวนจะถึงเวลาที่จะป้ายตาครั้งต่อไปให้รอป้ายตาครั้งต่อไปได้เลย

วิธีการใช้ยาหยอดตา


ยาหยอดตา

            ยาหยอดตามีทั้งชนิดที่เป็นน้ำใสและเป็นน้ำแขวนตะกอน  การใช้ยาหยอดตาที่เป็นยาฆ่าเชื้อตามทฤษฎีแล้วต้องใช้ยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง  โดยเฉลี่ยยาหยอดตา  1  หยด  มีปริมาตร  50  ไมโครลิตร  (ทั้งนี้ขึ้นกับความหนืดและขนาดของหลอดยาด้วย)

วิธีการใช้

-  ล้างมือให้สะอาด

-  เปิดเกลียวจุกของขวดยาไว้  แต่ยังไม่ต้องเอาหลอดหยดออกจากขวด

-  นอนหรือเงยหน้าขึ้น

-  ให้ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหลอดหยดและดูดยาให้เข้าไปในหลอด  (เฉพาะยาที่มีหลอดหยดซึ่งเอาออกจากตัวขวดได้)

-  ค่อยๆใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาลงมาให้เป็นกระพุ้ง  และเหลือบตาขึ้นข้างบน

-  หยอดยาตามจำนวนที่แพทย์สั่งลงในด้านในของเปลือกตาล่าง

            ระวัง !  อย่าให้ปลายหลอดหยดถูกตา  มือ  หรือสิ่งใดๆ

-  ปล่อยมือจากการดึงหนังตา  และอย่ากระพริบตาสักครู่ (อย่างน้อย 30 วินาที)

-  เอาหลอดหยดใส่ขวดและปิดฝาให้สนิท

-  ถ้าต้องการใช้ยาหยอดตา  2  ชนิดขึ้นไป  ควรเว้นระยะห่างในการหยอดยาแต่ละชนิดประมาณ  5-10  นาที  จึงหยอดยาชนิดต่อไป  ถ้ายาอีกชนิดเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตา  ให้หยอดยาก่อนและรอประมาณ  10  นาที  จึงใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา

ข้อแนะนำอื่นๆ

-  ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น  เพราะอาจทำให้ติดโรคได้

-  อาจทำให้ตาพร่า  แสบตา  หรือเคืองตาหลังจากหยอดตาได้  ดังนั้นไม่ควรขับรถหรือต้องทำงานที่เสี่ยงต่ออันตราย  จนกว่าตาจะมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ

-  ห้ามล้างหลอดหยด

-  ถ้าลืมหยอดตา ให้หยอดตาทันที่นึกขึ้นได้  แต่ถ้าจวนจะถึงเวลาที่จะหยอดตาครั้งต่อไปให้รอหยอดตาครั้งต่อไปได้เลย

-  ถ้ายาหยอดตาเป็นชนิดยาน้ำแขวนตะกอน  จะต้องเขย่าขวดก่อนใช้

-  ยาหยอดตาขวดที่เปิดใช้แล้ว  ห้ามใช้เกิน  1  เดือน  ถ้ามียาเหลือควรทิ้งไป

-  ยาหยอดตาบางชนิดควรเก็บในตู้เย็น  ฉะนั้นต้องอ่านฉลากให้เข้าใจ

-  ยาหยอดตาบางชนิด  จะทำให้รู้สึกขมได้  เพราะตาและปากมีทางติดต่อถึงกันได้  อาจกดหัวตาเบา ๆ

-  ผู้ใช้เลนซ์สัมผัส ควรถอดออกก่อนหยอดตา

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยาหยอดตารักษาโรคต้อหิน

 ยารักษาโรคต้อหิน

ส่วนใหญ่จะเป็นยาหยอดตาโดยอาจใช้ร่วมกับยาเม็ดรับประทาน โดยยาหยอดตาเพื่อลดความดันในลูกตามีมากมายหลายกลุ่ม  แต่ผลที่ต้องการโดยรวมคือ ลดปริมาณของของเหลวในลูกตา หรือเพิ่มการไหลออกของของเหลวในลูกตา ในผู้ป่วยบางรายแพทย์จะสั่งยาพร้อมกันหลายรายการ ผู้ป่วยที่ได้รับยาควรทราบเกี่ยวกับผลจากการใช้ยา และอาการข้างเคียงที่จะได้รับ หากผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงที่เกิดจากยามาก ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาได้ทราบ เพื่อที่จะได้เลือกใช้ยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย        

กลุ่มของยาหยอดตารักษาโรคต้อหิน

แอลฟ่า อดริเนอจิก อโกนิส  
  • ออกฤทธิ์ทั้งลดการสร้างของของเหลวในลูกตา และเพิ่มการไหลออกของของเหลว 
  • ผลข้างเคียง    ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ ตามัว เมื่อยล้า ปากแห้ง ตาแดง
  • ตัวอย่างยา เช่น Brimonidine (Alphagan , Brimonidine)
เบต้า บล็อคเกอร์
  • ออกฤทธิ์โดยลดการสร้างของของเหลวในลูกตา และลดอัตราการไหลของของเหลวที่เข้าไปในลูกตา
  • ผลข้างเคียง  หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึมเศร้า เสื่่อมสมรรถภาพทางเพศ เห็นภาพซ้อน มีปัญหาด้านการหายใจในผู้ป่วยหอบหืดและถุงลมโป่งพอง
  • ตัวอย่างยา เช่น Timolol (Timolol , Glauco-oph) Betataxol (Betoptic-s)
คาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ 
  • มีทั้งที่เป็นยาหยอดตา และยาเม็ดรับประทาน ออกฤทธิ์ลดการสร้างของเหลวในลูกตา
  • ผลข้างเคียง  ผื่นแดง ตาแดง ระคายเคืองตา มองเห็นภาพเบลอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ นิ่วในไต   ท้องไส้ปั่นป่วน การรับรสเปลี่ยนไป น้ำหนักลด
  • ตัวอย่างยา เช่น Dorzolamide (Trusopt), Brizolamide (Azopt), ยาเม็ด Acetazolamide (Diamox)
ยาหดรูม่านตา
  • การหดรูม่านตาจะทำให้ช่วยเพิ่มการไหลออกของของเหลวในลูกตา
  • ผลข้างเคียง ตาแดง ปวดศีรษะ ตาเบลอ ฝ้า มีน้ำลายมาก เหงื่อออกมาก  คลื่นไส้ อาเจียน      ท้องเสีย ปอดบวมน้ำ หัวใจเต้นช้า
  • ตัวอย่างยา เช่น Pilocarpine (Isopto-Carpine)
พลอสตาแกรนดิน อนาล็อค
  • ลดความดันลูกตาโดย เพิ่มการไหลออกของของเหลวในลูกตา
  • ผลข้างเคียง ตาเบลอ ตาแดง ระคายเคืองตา ม่านตาเปลี่ยนสี (ส่วนใหญ่เกิดในคนที่มีตาสีน้ำตาลหรือสีเขียว) ขนตายาวและหนาขึ้น ปวดข้อ อาการเหมือนเป็นไข้
  • ตัวอย่างยา เช่น Latanoprost (Xalatan) , Bimatoprost (Lumigan) , Travoprost (Travatan)
ยาสูตรผสม 
  • คือ ยาหยอดตาที่รวมยาไว้ในขวดเดียวกัน เพิ่อเพิ่มผลการลดความดันลูกตา เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย  แต่อาการข้างเคียงก็เพิ่มขึ้นด้วย
  • ตัวอย่างยา เช่น Dorzolamide and Timolol (Cosopt) , Latanoprost and Timolol (Xalacom) , Brimonidine and Timolol (Combigan)


Lid clean pad